Microplastics เป็นภัยอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตทุกชนิด ซึ่งปัจจุบันนี้สามารถพบเจอพลาสติกเหล่านี้ได้เกือบทั่วโลก

พลาสติกขนาดเล็กเหล่านี้เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตอย่างมากหากได้รับเข้าสู่ร่างกายเป็นประจำ โดยไม่ใช่แค่สัตว์เท่านั้นที่อันตราย มนุษย์เองก็จะได้รับผลกระทบจากการบริโภคสัตว์เหล่านั้นหรือผลจากการที่ระบบนิเวศน์ถูกทำลายอยู่ดี ดังนั้นการกำจัดไมโครพลาสติกจึงเป็นภารกิจสำคัญ แต่ทว่าพลาสติกเหล่านี้มีขนาดที่เล็กและส่วนใหญ่อยู่ในน้ำจึงเป็นการยากที่จะกำจัด

ล่าสุดทีมนักวิจัยใน Nano Letters ของ ACS (American Chemical Society) ได้คิดค้นหุ่นยนต์รูปร่างคล้ายปลาขึ้นมาสำหรับกำจัด Microplastics โดยเฉพาะ ซึ่งมันสามารถที่จะว่ายน้ำไปทั่วพื้นที่และหยิบพลาสติกเหล่านั้นออกจากระบบนิเวศน์ได้อย่างรวดเร็ว

หุ่นยนต์ปลาตัวจิ๋วนี้มีความแข็งแรงทนทานและยืดหยุ่นอีกทั้งยังไม่ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศน์มากนัก (โดยโครงสร้างและสารประกอบที่ใช้นั้นได้ไอเดียจากหอยมุก อ่านรายละเอียดได้ที่นี่ ACS) ซึ่งมีความยาว 15 มิลลิเมตร การเปิดปิดแสงแสงเลเซอที่หางทำให้เกิดการเคลื่อนไหวของครีบและผลักตัวไปด้านหน้า และหุ่นยนต์ตัวนี้จัดว่าว่ายน้ำได้เร็วมากสามารถที่จะขยับไปได้ไกลกว่าความยาวของตัวมันเองถึง 2.67 เท่าใน 1 วิ

โดยนักวิจัยพบว่ามันสามารถที่จะดูดซับ polystyrene microplastics ที่อยู่ใกล้เคียงและนำไปจุดอื่นได้ (ถ้าตอนใช้งานจริงคงรวบรวมไว้เป็นจุดเพื่อให้จัดการได้ง่าย) สามารถที่จะทำซ้ำได้เรื่อย ๆ นอกจากนี้วัสดุยังสามารถรักษาตัวมันเองและยังคงรักษาความสามารถในการดูดซับพลาสติกเอาไว้ได้อีกด้วย

ที่มาและอ่านเพิ่มเติม Science Daily

VRARMR

Raxium – Google

Google ซื้อกิจการของ Raxium ธุรกิจด้าน Micro LED ไปในมูลค่า 1 พันล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ เพื่อเตรียมพัฒนาเทคโนโลยี AR MR ต่อ
AInb-Post-11-Pic1

Loss Function – AI

Loss Function (หรือบางครั้งเรียกว่า Cost Function, Error Function) หากกล่าวสั้น ๆ คือค่าหนึ่งในการฝึกสอนโมเดลที่จะต้องทำให้ลดลงให้มากที่สุด
skin_humanoid

Living Skin – Robots

การวิจัยของศาสตราจารย์ Shoji Takeuchi แห่งมหาวิทยาลัยโตเกียว ได้แสดงให้เห็นถึงความก้าวหน้าทาง วิทยาศาสตร์ อีกขั้นในการสร้างหุ่นยนต์

ติดตาม SUBBRAIN ได้ที่นี่

Categories: Short News