Data Science กับงาน เเละ อาชีพ ?

วิทยาการข้อมูล ศาสตร์เเขนงใหม่ที่ถูกพูดถึงกันอย่างมากมายในปัจจุบัน บทความนี้จะมาเล่าเกี่ยวกับ หน้าที่การงาน ความรับผิดชอบ กลุ่มธุรกิจ – อุตสาหกรรมที่ต้องการอาชีพนี้ เเละ อาชีพหลัก ๆ ที่ทำงานเกี่ยวกับด้านข้อมูลว่ามีอะไรบ้าง ขั้นตอนการทำงานหลัก ๆ เป็นอย่างไร

Role & Responsibility

หน้าที่การทำงานเเละความรับผิดชอบหลัก ๆ เเล้วจะเป็นไปตามปัญหาหรือโจทย์ที่ต้องทำ โดยหลังจากที่วิเคราะห์เเละจัดการข้อมูลเรียบร้อยเเล้ว จึงเป็นการนำเสนอให้ผู้ลงทุนเข้าใจ ซึ่งหน้าที่หลัก ๆ มีดังนี้

  1. วิเคราะห์และจัดการข้อมูล
  2. ทำ Visualization ให้นักลงทุน หรือ พวก Stakeholders เข้าใจได้โดยง่าย
  3. แนวโน้มในการทำงานจะเป็นไปตามกลุ่มธุรกิจ/อุตสาหกรรมที่ทำอยู่ หรือ ตามวิสัยทัศน์ของผู้ลงทุน
  4. ลักษณะการทำงานจะเริ่มต้นที่การเก็บรวบรวมข้อมูลและจบที่การตัดสินเชิงธุรกิจ
  5. Big data คือข้อมูลที่ นักวิทยาการข้อมูลนำมาวิเคราะห์
  6. ประเภทของข้อมูลมี 2 ประเภท ได้แก่ Structured data กับ Unstructured data
    • Structured data จะเป็นข้อมูลที่มีรูปแบบ จัดแยกประเภทกับชนิดมาแล้วเรียบร้อย จึงง่ายต่อการนำไปใช้งานต่อ
    • Unstructured data เป็นข้อมูลที่มีจำนวนมากและขยายตัวไวที่สุด ใน Big data แต่ยากต่อการนำมาเรียบเรียง

Data Scientist เป็นที่ต้องการของใครบ้าง?

ธุรกิจเเละองค์กรต่าง ๆ ในปัจจุบันเเทบจะไม่มีใครที่ไม่ยุ่งเกี่ยวกับข้อมูล ฉะนั้นเเล้วงานด้านวิทยาการข้อมูลนี้จึงเป็นที่ต้องการของเกือบทุกธุรกิจ โดยกลุ่มหลักที่ต้องการผู้ทำงานด้านนี้ได้เเก่

  1. Business งานจะเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจลงทุนเป็นหลักเพื่อลดความเสี่ยงและเพิ่มโอกาสสร้างผลตอบแทนให้ได้มากที่สุด นอกเหนือจากนี้อาจเป็นเรื่องการจัดการงานภายในองค์กร
  2. E-Commerce ระบบซื้อขายบนแพลตฟอร์มออนไลน์ จะมีลักษณะงานไปในเชิงพัฒนาด้านบริการลูกค้าเป็นหลัก ไปจนถึงการสินค้าและแพลตฟอร์มนั้น ๆ ให้ดีขึ้น
  3. Finance จะมุ่งเน้นไปที่ความปลอดภัยของระบบและการสร้างข้อเสนอต่าง ๆ ที่ตรงใจลูกค้า
  4. Government ด้านรัฐบาลและการพัฒนาประเทศ จะใช้ Big data ประกอบการตัดสินต่าง ๆ และติดตามผล
  5. Science ใช้งานเกี่ยวกับการวิเคราะห์ผลการทดลอง
  6. Social networking เน้นเกี่ยวกับการโฆษณา, การหาเรื่องราวที่กำลังเป็นกระแส และ การสร้างความพึงพอใจให้แก่ผู้ใช้งาน
  7. Healthcare ช่วยเพิ่มความสะดวกสบายในการจัดการข้อมูลของผู้ป่วยและเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการเพื่อการรักษาที่ดียิ่งขึ้น
  8. Telecommunications วิเคราะห์เเละคาดการณ์พฤติกรรมของลูกค้า โดยมุ่งเน้นในเรื่องความสุขของลูกค้าเป็นที่สุด

Skill and Work Flow

ทักษะที่จำเป็น ได้เเก่

  1. Programming เพื่อการสร้างโปรแกรมสำหรับใช้วิเคราะห์ข้อมูลด้วยตัวเอง
  2. Quantitative analysis สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลที่อยู่มากมายอย่างมีประสิทธิภาพ
  3. Product intuition มีส่วนช่วยให้วิเคราะห์ข้อมูลจำนวนมากได้ดียิ่งขึ้น, คาดการณ์ระบบการทำงาน และยังช่วยเพิ่มทักษะการแก้บัคต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นอีกด้วย
  4. Communication ทักษะการสื่อสารที่ดีกับการเข้าสังคม
  5. Teamwork

กระบวนการทำงานหลัก ๆ ประกอบไปด้วยขั้นตอนเหล่านี้

  1. Business Understanding เป็นการทำความเข้าใจปัญหาหรือสิ่งที่ต้องการจะทำของธุรกิจเพื่อตีความออกมาเป็นโจทย์สำหรับการสืบค้นและวิเคราะห์ข้อมูล
  2. Data Understanding ขั้นตอนนี้จะทำการเก็บรวบรวมข้อมูล และพิจารณาดูว่าข้อมูลส่วนไหนที่เหมาะแก่การนำไปใช้งานต่อ
  3. Data Importing คัดเลือกข้อมูลที่ตรงกับปัญหาที่ต้องการจะแก้และจัดเตรียมให้เหมาะแก่การใช้งานยิ่งขึ้น
  4. Data Cleaning and Manipulation เป็นการจัดการและแปลงประเภทของข้อมูลดิบ ตรวจสอบความถูกต้อง เพื่อการนำไปวิเคราะห์ในขั้นถัดไป (เป็นขั้นตอนที่ใช้เวลานาน)
  5. Statistical modeling and ML
  6. Reporting and Visualization

3 อาชีพที่ตรงสายงานนี้!

Data Analyst

          งานจะเกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อประกอบการตัดสินที่ยิ่งขึ้นขององค์กรหรือภาคธุรกิจต่าง ๆ ขั้นตอนการทำงานและทักษะที่ใช้ได้แก่ Business understanding, Data understanding, Modeling and Reporting

Data Engineering

          หลัก ๆ ของอาชีพนี้จะเป็นการรวบรวมและจัดการกับข้อมูลให้มีความถูกต้องและแม่นยำที่สุดเพื่อการใช้งานอันเกิดประสิทธิภาพอย่างสูงสุด หน้าที่และทักษะจำเป็นได้แก่ Data importing, Data cleaning and Manipulation, Develop, Constructs and Maintain

Data Scientist

          วิเคราะห์และจัดการข้อมูลจำนวนมากที่มีความซับซ้อน(Big data) จำเป็นต้องมีทักษะ Statistical และ ML ขั้นสูง รวมไปถึงทักษะของสองอาชีพข้างต้นก็จำเป็นต้องทำได้ เพื่อที่จะสามารถสร้างระบบหรือนวัตกรรมใหม่ ๆ ขึ้นมาได้นั่นเอง

Conclusion

การทำงานจะเริ่มต้นที่เก็บรวบรวมข้อมูลวิเคราะห์เเละจบด้วยการนำไปใช้ตัดสินใจทางธุรกิจเพื่อสร้างผลตอบเเทนที่สูงขึ้นเเละลดความเสี่ยง ลักษณะงานจึงเป็นไปตามปัญหาของธุรกิจนั้น ๆ ทำให้งานของอาชีพนี้จำเป็นต้องมีความรู้ที่หลายหลายประกอบกันนั่นเอง

ศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ SBC-BLOG และ Facebook page Subbrain

ติดตาม SUBBRAIN ได้ที่นี่