Business in COVID-19

สถานการณ์ COVID-19 ณ ขณะนี้เป็น Pandemic ที่ทั่วทั้งโลกต่างต้องเผชิญ ไม่ว่าจะเป็นบุคคลทั่วไป องค์กร สถาบันต่าง ๆ ไปจนธุรกิจตั้งแต่ขนาดเล็ก กลาง ใหญ่ ต่างก็ล้มละลายกันถ้วนหน้า เรื่องนี้ทำให้ทุกคนต้องปรับตัวโดยเฉพาะธุรกิจเองจะต้องมีการปรับเปลี่ยนกันขนานใหญ่ใน ซึ่งทั้งการเจ๊ง และ การเงินเพื่อความอยู่รอดนั้นมีดังต่อไปนี้

เริ่มกันที่การเจ๊งของธุรกิจ

ธุรกิจที่จะเจ๊งมี 3 อย่างด้วยกันคือ

  1. ธุรกิจมีปัญหาอยู่แล้วก่อนเกิด COVID
  2. ธุรกิจมีปัญหาเมื่อเกิด COVID
  3. ธุรกิจมีปัญหาต่อหลังเกิด COVID

ซึ่งหากเป็นปัญหาที่มีอยู่แล้วก่อนเกิดวิกฤตนี้ นั่นหมายถึง COVID มาทำให้เจ๊งไวขึ้นเท่านั้น ทางแก้จึงยังไม่ขอพูดในทีนี้ ส่วนข้อต่อมานั้นหากธุรกิจของเราไม่แข็งแกร่งพอก็อาจต้องจบลงทันทีหรืออาจจะต้องค่อย ๆ ปิดตัวลงแต่ถ้าหากมีความแข็งแกร่งพอก็ย่อมอยู่รอดต่อไปได้ และในข้อสุดท้ายนั้น ธุรกิจจะเป็นช่วงฟื้นฟูต่อไป โดยวิธีรอดจะต้องปรับสองอย่างคือ การเงิน และ โครงสร้างธุรกิจ

การบริหารเงิน

ธุรกิจมี 3 เงินที่สำคัญอย่างมากคือ

  1. เงินทุน หรือเรียกว่า เงินเริ่มต้นธุรกิจ โดยแหล่งที่มาของเงินก้อนนี้หลัก ๆ จะได้แก่ เงินส่วนตัว, การระดมทุน, กู้ยืม, เครดิตซัพพลายเออร์, และ ลูกค้า
  2. เงินหมุนเวียน เปรียบเป็นออกซิเจนทางธุรกิจก็ว่าได้ บางครั้งกำไรอาจไม่สำคัญเท่ากับเงินหมุนเวียน “สภาพคล่อง…สำคัญ…กว่ากำไร” เพราะหากกิจการไม่มีเงินหมุนเวียนอาจจะทำให้ธุรกิจหยุดชะงักไม่สามารถรันธุรกิจต่อไปได้ เช่น เงินเดือน ค่าจ้าง ค่าวัตถุดิบ ค่าเช่า ค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า และอื่นๆ การบริหารเงินหมุนเวียนจึงต้องทำให้ “เงินเข้าเร็ว เงินออกช้าอย่างน้อย 1 รอบ (30วัน)” เสมอ เช่น ขายของแล้วได้เงินสดมาแต่กำหนดจ่ายเงินออกไปยังมีเวลาเหลืออีก 30 วัน เป็นต้น เพราะหากเงินออกเร็วแต่เงินเข้าช้า นั่นคือ สภาพคล่อง จะมีปัญหาเพราะต้องหาเงินจ่ายออกไปก่อนแต่เงินเข้ายังไม่มา เช่น ต้องจ่ายเงิน วันที่ 1 แต่จะเงินเข้ามาวันที่ 30 เป็นต้น แบบนี้กิจการจะเกิดปัญหาเงินทุนหมุนเวียนติดขัดอาจแรงถึงขั้นที่ดำเนินธุรกิจต่อไปไม่ได้เลยทั้งที่ขายได้และธุรกิจมีลูกค้า
    การบริหารเงินหมุนเวียนจึงเป็นหัวใจของการบริหารธุรกิจ
  3. เงินสำรอง สำคัญมากเช่นกันที่ตายหมู่กันเป็นส่วนใหญ่ในตอนนี้ (Covid-19) ก็เพราะธุรกิจไม่มีเงินสำรองไว้เลยหรือมีแต่ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน “เงินสำรองมาจากไหน?” นี้คือวินัยทางการเงินของแท้เจ้าของธุรกิจที่ใช้เงินไม่เป็นและไม่มีวินัยจะเกิดปัญหานี้ทุกคน ซึ่งทุนสำรองนี้ต้องมีอัตราส่วน
    3
    :1 โดยทรัพย์สินมากกว่าหนี้สินเป็น 3 เท่า และ เงินสำรองจะมาจาก 4 แหล่งใหญ่
    • กำไรสะสม
    • ยอดขายประจำ
    • ทรัพย์สินต่าง ๆ
    • เครดิตการค้า

    การปรับโครงสร้างธุรกิจ

    โครงสร้างของธุรกิจนั้นส่งผลมากกับทิศทางในการดำเนินธุรกิจการเรียนรู้ที่จะปรับตัวในสถานการณ์วิกฤตฉับพลันแบบนี้เป็นสิ่งที่ต้องเรียนรู้และทำทันที โดยสิ่งที่ต้องปรับมีดังนี้

    1. ปรับเครื่องมือ อุปกรณ์การทำธุรกิจใหม่ตรวจสอบดูว่าอะไรที่ล้าหลังและไม่ตอบโจทย์เมื่อเกิดปัญหา
    2. ปรับวิธีการทำธุรกิจใหม่ตั้งแต่เริ่มจนสินค้าและบริการไปถึงลูกค้านั้นมันยุ่งยากซับซ้อนมากน้อยอย่างไรเพื่อลดขั้นตอนการทำธุรกิจ
    3. ปรับกลุ่มลูกค้าใหม่เพื่อขยายฐานหรือเพิ่มรายได้เพื่มช่องทางขายให้ลูกค้ากลุ่มใหม่ได้เพื่อลดความเสี่ยงเมื่อเจอวิกฤต
    4. ปรับเปลี่ยนธุรกิจใหม่ไปเลย หากธุรกิจเดิมดูแล้วหากเกิดวิกฤตอีกก็จะมีปัญหาอีก อาจเปลี่ยนบางส่วนหรือเปลี่ยนทั้งหมด
    5. เปิดหาพันธมิตรการค้าและการดำเนินธุรกิจใหม่แบ่งรายได้ กระจายความเสี่ยง เร่งการเติบโตและต่อยอดโลกธุรกิจยุดดิจิทัลมันมีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมมากหากยังอยู่แบบเดิมบอกเลยแม้ไม่มี COVID ก็เจ๊งได้อย่างง่ายดาย และ ตายได้อย่างรวดเร็ว

    Conclusion

    นี่เป็นเพียงหลักการใหญ่ๆ ให้นำไปคิดวิเคราะห์ต่อตามสถานการณ์และรูปแบบธุรกิจของแต่ละคน แต่ไม่ว่าจะอย่างไรก็ต้องทำ 2 อย่างนี้ คือ
    การเงิน และ การปรับโครงสร้างธุรกิจ

    อ่านบทความอื่นได้ที่ SBC-Blog เเละ Facebook page Subbrain

    ติดตาม SUBBRAIN ได้ที่นี่

    Categories: Business