เมื่อมีข่าวร้ายรอบทิศทาง

ลำพังการทำธุรกิจเองก็มีปัญหาที่ต้องแก้ไขอย่างมากมายอยู่แล้วไม่ว่าจะเป็นปัญหาภายในบริษัทเองและปัญหาภายนอกการแข่งขันทางธุรกิจที่รุนแรงและยังมีคู่แข่งไม่เพียงเฉพาะในประเทศเท่านั้นแต่ยังมีคู่แข่งข้ามชาติทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลกที่มีเทคโนโลยีที่ดีกว่าสายป่านทางการเงินมีมากกว่าเท่านี้ก็เป็นปัญหาให้ธุรกิจ SME ปวดหัวและยากที่จะแก้ไขอยแล้ว

แต่ยังมีข่าวร้ายซ้ำเติมเข้ามาอีก เช่น

  • เศรษฐกิจตกต่ำ การเติบโตถดถอยทั้งในประเทศและทั่วโลก
  • ค่าเงินผันผวนหลายสกุลเงินทั่วโลก
  • ภาวะเงินเฟ้อ เงินฝืด
  • สงครามระหว่างประเทศและการก่อการร้าย
  • ความขัดแย้งระหว่างประเทศทั่วทุกภูมิภาคของโลก
  • ความเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติและภัยพิบัติใหญ่
  • ความเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีแบบก้าวกระโดดในทุกอุตสาหกรรม

นี่คือข่าวร้ายของภาคธุรกิจ SME ที่ต้องเจอและได้ยิน ได้ฟัง ได้อ่าน ได้เห็นทุกวันนี่คือสิ่งที่ธุรกิจ SME ไม่อาจควบคุมได้แล้วจะทำอย่างไรกับสถานการณ์เช่นนี้ในเมื่อธุรกิจยังต้องดำเนินต่อไปท่ามกลางพายุปัญหาและข่าวร้ายรอบทิศทาง

หลักคิดสำคัญข้อแรกในการแก้ปัญหานี้คือ “การเปลี่ยนแปลง” นี่กฎข้อแรกที่ SMEต้องคิดและยอมรับก่อนว่าจะดำเนินธุรกิจไปแบบเดิม ๆ ไม่ได้แล้วโลกได้ก้าวเข้าสู่ยุคใหม่ของการทำธุรกิจแล้ว (Digital Technology, Big Data, AI)

SME ต้องจัดระบบการจัดการพื้นฐานทางธุรกิจของตนเองใหม่เริ่มจาก

1.การจัดการความรู้พื้นฐาน (Core Knowledge) ที่ทุกคนต้องทราบ เช่น ความรู้เกี่ยวกับบริษัท ความรู้ในงานและความรับผิดชอบ ความรู้เกี่ยวกับสินค้าและบริการ เป็นต้น เพื่อให้การดำเนินธุรกิจมีทิศทางที่ถูกต้องและเข้าใจตรงกัน

2.การจัดการความรู้พิเศษ (Advanced Knowledge) ซึ่งเป็นความรู้ที่คู่แข่งไม่มีหรือเป็นความรู้ที่แตกต่างที่จะทำให้ธุรกิจแข่งขันและอยู่รอดได้

3.การสร้างความรู้เชิงนวัตกรรม (Innovative Knowledge) เป็นความรู้ใหม่ที่ไม่เคยมีใครคิดหรือรู้มาก่อนหรือการต่อยอดความรู้ที่แตกต่างกว่าคู่แข่งซึ่งจะทำให้องค์กรเป็นผู้นำทางการตลาดหรือกลายเป็นผู้สร้างการเปลี่ยนแปลงในอุตสาหกรรมนั้น ๆ ได้

การเปลี่ยนแปลงพื้นฐานจำเป็นแต่ไม่เพียงพอการลงทุนเพื่อยกระดับกระบวนการทางธุรกิจด้วยแนวคิดใหม่และเทคโนโลยีที่ทันสมัย (Business Process Innovation) เป็นสิ่งที่ต้องทำเพื่อรักษาระดับความสามารถการแข่งขันให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในยุคดิจิทัล การผลิตสินค้าหรือให้บริการด้วยกระบวนการอัตโนมัติ (Business Process Automation) เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงได้ยากโดยเฉพาะปัญหาด้านค่าแรงที่สูงขึ้นการขาดแคลนแรงงานที่มีทักษะความสามารถและเทคโนโลยีราคาถูกลง

สุดท้ายธุรกิจจะต้องก้าวไปให้ถึงขั้น Digital Lean ซึ่งไม่เพียงแค่ทำให้เครื่องจักรต่าง ๆ ใน  กระบวนการผลิตสามารถสื่อสารและส่งข้อมูลกันได้เองเท่านั้นที่สำคัญเครื่องจักรเหล่านั้นติดตั้ง IoT ที่มีเซนเซอร์คอยตรวจวัดค่าต่าง ๆ และส่งออกในรูปแบบข้อมูลผ่านช่องทางอินเทอร์เน็ตเข้าไปเก็บไว้ใน cloud server ที่ทำให้เรารู้สถานะแบบทันทีดูได้ทุกที่ทุกเวลาและยังสามารถนำข้อมูลที่จัดเก็บไว้มาวิเคราะห์และตัดสินใจได้อีกด้วย

ไปจนถึงกระบวนการอัตโนมัติที่ชาญฉลาด (Intelligent Process Automation หรือ IPA) เป็นหนึ่งในรูปแบบของการขยับเขยื้อนเคลื่อนตัวออกไปอย่างกว้างขวางด้วยเทคโนโลยี เช่น จากรถยนต์ไร้คนขับจนถึงโดรนขับเคลื่อนอัตโนมัติระบบอัตโนมัติเดิมที่เพิ่มเติมด้วยเทคโนโลยีใหม่ไร้พรมแดนในทุกวันนี้มีการใช้ Data analytics และ AI ไปใช้สร้างความฉลาดในทางธุรกิจ สื่อสารกับลูกค้าและผู้ใช้งานในรูปแบบของผู้ช่วยหรือทำให้งานย่อยต่างๆดำเนินการได้เองทั่วทั้งองค์กรระบบอัตโนมัติเดิมที่ทำงานตามโปรแกรมหรือชุดคำสั่งที่กำหนดไว้กำลังเปลี่ยนผ่านไปสู่สิ่งใหม่ที่

“คิดเองได้ ทำเองเป็น โดยไม่ต้องรอคำสั่งหรือคำแนะนำจากคน”

Conclusion

SME ต้องนำธุรกิจของตนเองสู่การพัฒนาการร่วมกันของเทคโนโลยีที่เข้ามาจัดการทำให้เป็นระบบอัตโนมัติและเชื่อมต่อกระบวนการต่าง ๆ ผ่านเทคโนโลยีดิจิทัลประกอบด้วย 3 ส่วนหลักคือ:

1.การประยุกต์ดิจิทัลเข้าไปจัดการกับข้อมูลต่าง ๆ ในกระบวนการแบบอัตโนมัติ (Digital Process Automation หรือ DPA)

2.การนำหุ่นยนต์เข้าไปทำงานแทนคนในกระบวนการ (Robot Process Automation หรือ RPA) และ

3.ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence หรือ AI) โดย DPA ทำให้เราเปลี่ยนสถานะของสิ่งต่างๆทางกายภาพให้กลายเป็นดิจิทัลช่วยทำให้เราจัดการกับการไหลของข้อมูลในระบบและตรวจติดตามง่ายขึ้นโดยการบ่งชี้พื้นที่ที่ต้องปรับปรุงและดำเนินการเปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็ว

ยังมีทางรอดเสมอสำหรับธุรกิจที่ติดตามการเปลี่ยนแปลงและพร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงธุรกิจของตนเองให้ทันกับยุคสมัยตลอดเวลา

Big_Data_Business

Big Data with Business

Big Data หากให้จำกัดความโดยง่ายมันก็คือข้อมูลที่สามารถนำมาสร้างประโยชน์ให้กับธุรกิจหรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ ได้ รวมถึงสร้างประสบการณ์ที่ดีขึ้นเเก้ผู้ใช้อีกด้วย
googlelogo

Generative Search – AI

Generative AI-Powered Search Experience (SGE) เริ่มมีการทดลองให้บริการมาแล้วเกือบ 3 เดือนในต่างประเทศ (ในประเทศไทยยังไม่มีให้ทดลอง) การจะใช้งานฟีเจอร์นี้ของกูเกิ้ลสามารถไปที่ https://labs.google/ และเลื่อนลงไปตรง Google Search และกด Get Started (แต่ตอนนี้ของไทยยังไม่ได้) ฉะนั้นมาทำความรู้จักฟีเจอร์และความสามารถของมันกันก่อนว่าทำอะไรได้บ้าง 1. AI-Generated Responses คำตอบหรือคำจำกัดความของเรื่องที่เราค้นหาเป็นฟีเจอร์สำหรับสร้างคำตอบหรือคำจำกัดความของเรื่องที่เราค้นหาเพื่อให้เราสามารถทำความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องนั้น ๆ ได้มากขึ้น และฟีเจอร์นี้ยังสามารถเชื่อมโยงไปยังเนื้อหาที่เกี่ยวข้องได้ และมีการแสดงภาพหรือแผนภูมิประกอบการอธิบายอีกด้วย โดยจะพัฒนาให้ครอบคลุมด้านวิทยาศาสตร์ เศรษฐกิจ ประวัติศาสตร์…
MYnb-Post-5-Pic1

Extract Audio from Video – Data

วิธีการดึงเสียงออกจากวิดีโอด้วย Python โดยประมวลผลแบบ In-Memory ไม่ต้องบันทึกไฟล์ลงเครื่องเพื่อความสะดวกในการใช้งานกับระบบ

ติดตาม SUBBRAIN ได้ที่นี่

Categories: Business